ถ้าหากผู้ป่วยแพ้ยา Simvastatin โดยเกิด MP rash สามารถใช้ยา Atorvastatin แทนได้หรือไม่


ผู้ป่วยกินยา Simvastatin ไป 8 วัน แล้วมีอาการผื่นนูนแดงคันตามลำตัวและแขนขาทั้ง 2 ข้าง แล้วหยุดยาเอง 5 วัน วันนี้มารพ.ตามนัด ไม่มีผื่นแล้ว สงสัยแพ้ยา Simvastastin แบบ MP rash 
อยากสอบถามว่าถ้าแพ้ยา Simvastatin สามารถใช้ยา Atorvastatin แทนได้มั้ยครับ หรือต้องเปลี่ยนไปใช้ยาลดไขมันกลุ่มอื่นเลย


NakharinT
17-02-2023 13:26:29 น.
ดู 13157 ครั้ง

ข้อมูลผู้ป่วย
เพศ -
อายุ - ปี - เดือน
น้ำหนัก - กก.
LBW - กก.
ส่วนสูง - ซม.


คำตอบจากหน่วย DHI


โดยทั่วไปอาการไม่พึงประสงค์ในรูปแบบผื่นที่ผิวหนังพบไม่บ่อยในยากลุ่ม statins (ประมาณร้อยละ 7.7 จากรายงาน post marketing1) ซึ่งลักษณะที่พบส่วนใหญ่มีการรายงานการทำให้เกิดผื่นแบบ urticaria2, bullous rash, erythema multiforme, exacerbation of psoriasis3, Stevens-Johnson syndrome (SJS), และ toxic epidermal necrolysis (TEN)4 นอกจากนี้ยังมีรายงานการทำให้เกิดผื่นผิวหนังลอกได้แบบ Lichenoid Dermatosis5,6 ได้บ้าง ทั้งนี้ข้อมูลรายงานการเกิด cross reactivity ของการเกิด skin rash ในกลุ่มยา statins พบน้อยมาก เช่น มีรายงานการเกิด drug eruption ในผู้ที่ได้รับยา rosuvastatin ภายหลังเปลี่ยนจากการใช้ยา rosuvastatin มาเป็น simvastatin แล้วยังเกิดอาการดังกล่าวซ้ำขึ้นอีก7 อย่างไรก็ตามยังไม่มีคำอธิบายถึงกลไกการเกิดที่ชัดเจน บางรายงานสงสัยจากการที่ยา statins เป็น drug induced systemic lupus erythematous และนำมาซึ่งการกระตุ้นให้ร่างกายเกิด autoantibodies โดยเฉพาะในกลุ่ม secon generation statins ตลอดจนยาอาจกระตุ้นการทำงานของ lymphocyte และนำมาซึ่งการเกิดผื่นได้เช่นกัน1

สำหรับกรณีผู้ป่วยที่เกิดผื่นนูนแดงภายหลังการได้รับยา simvastatin ไป หากเป็นการใช้ด้วยข้อบ่งใช้ที่สำคัญโดยเฉพาะการใช้เป็น secondary prevention สำหรับโรคหัวใจหลอดเลือด อาจพิจารณาให้ใช้ยา atorvastatin แทนได้ โดยเฉพาะในรายที่ไม่สงสัยว่าเป็นผื่นจากการเป็น drug induced systemic lupus erythematous รวมทั้งหากพิจารณาแล้วว่าผื่นดังกล่าวไม่น่าจะสัมพันธ์กับการเกิด skin rash ที่รุนแรง เช่น angioedema หรือ SJS และ TEN ทั้งนี้ควรติดตามอาการภายหลังการปรับเปลี่ยนยาและให้ยาบรรเทาอาการผื่นหากจำเป็น เช่น antihistamine, topical steriod เป็นต้น


คำสำคัญ :
ผู้ตอบ :
ผศ.พีรวัฒน์ จินาทองไทย (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
เวลาตอบ : 23-03-2023 08:30:44
ระยะเวลาที่ใช้สืบค้นข้อมูล
1 เดือน 5 วัน 19 ชั่วโมง 4 นาที 15 วินาที

อ้างอิง
1. Khan S. Chronic urticaria and use of statins. Asia Pac Allergy. 2012;2(3):227-9.
2. Adcock BB, Hornsby LB, Jenkins K. Dermographism: an adverse effect of atorvastatin. J Am Board Fam Pract. 2001;14(2):148-51.
3. Cozzani E, Scaparro M, Parodi A. A case of psoriasis worsened by atorvastatin. J Dermatol Case Rep. 2009;3(4):60-1.
4. Pfeiffer CM, Kazenoff S, Rothberg HD. Toxic epidermal necrolysis from atorvastatin. Jama. 1998;279(20):1613-4.
5. Forouzan P, Riahi RR, Cohen PR. Atorvastatin-induced Lichenoid Drug Eruption: A Case Report and Review of Statin-associated Cutaneous Adverse Events. Cureus. 2020;12(3):e7155.
6. Vesza Z, Pires C, da Silva PM. Statin-related Lichenoid Dermatosis: An Uncommon Adverse Reaction to a Common Treatment. Eur J Case Rep Intern Med. 2018;5(5):000844.
7. Wong ITY, Huang Y, Zhou Y. Drug Eruption to Rosuvastatin With Recurrence on Simvastatin: A Case Report. Journal of Cutaneous Medicine and Surgery. 2018;22(3):359-361. doi:10.1177/1203475418756376

ผลการประเมินโดยสมาชิก (เฉลี่ย)

ความครบถ้วนของเนื้อหา
5

คำตอบที่ได้รับสามารถนำไปใช้ได้จริง
5

ความพึงพอใจโดยรวม
5

Print Version