ผู้ป่วยหญิง อายุประมาณ 70 ปี มีข้อเท้าบวม ไม่ปวด ไม่คัน หน้าแข้งไม่บวม เพิ่งได้รับยาใหม่ 2 ตัวเป็นวิตามินดี 2 กินสัปดาห์ละครั้ง กับ Actonel กินเดือนละครั้ง
ผู้ป่วยหญิง อายุประมาณ 70 ปี มีข้อเท้าบวม ไม่ปวด ไม่คัน หน้าแข้งไม่บวม เพิ่งได้รับยาใหม่ 2 ตัวเป็นวิตามินดี 2 กินสัปดาห์ละครั้ง กับ Actonel กินเดือนละครั้ง
ยาเดิมมี Atrovas 40
Aspin
Losatan 50
Manidipine 20
Caltab 1250
Folic
B comlex
Alfacalcidol 0.25mcg
ขอทราบว่า ข้อเท้าบวม เกิดจากยาตัวใดได้บ้าง
ผู้ป่วยหญิง อายุประมาณ 70 ปี มีข้อเท้าบวม ไม่ปวด ไม่คัน หน้าแข้งไม่บวม เพิ่งได้รับยาใหม่ 2 ตัวเป็นวิตามินดี 2 กินสัปดาห์ละครั้ง กับ ACTONEL กินเดือนละครั้ง
จากการสืบค้นพบว่ายา risedonate (Actonel) ซึ่งเป็นยาที่ได้รับล่าสุด มีรายงานการเกิดอาการบวมที่แขนขา (peripheral edema) ได้ประมาณ 8% (UpToDate, Lexidrug) และมีรายงานกรณีผู้ป่วยหนึ่งรายที่มีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ บวมที่ขาทั้งสองข้างร่วมกับมีอาการแขนอ่อนแรง หลังได้รับยา Actonel ไปหนึ่งครั้ง (Badayan I, Cudkowicz ME. Profound muscle weakness and pain after one dose of actonel. Case Rep Med. 2009;2009:693014. doi: 10.1155/2009/693014.) ส่วน vitamin D2 (ergocalciferal) ไม่พบรายงานการเกิดอาการบวมที่ขาหรือข้อเท้าบวม (UpToDate, Lexidrug)
ส่วนยาเดิมที่พบว่ามีรายงานการเกิดข้อเท้าบวมได้ คือยา manidipine พบประมาณ 6% ซึ่งต่ำกว่ายาในกลุ่มเดียวกันคือ amlodipine ที่พบได้ 22% แต่ถึงแม้ว่ายา manidipine จะมีอุบัติการณ์การเกิดข้อเท้าบวมต่ำกว่ายา amlodipine แต่ยา manidipine ทำให้เกิดข้อเท้าบวมได้มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญหลังได้รับยาไป 16 สัปดาห์ (Fogari, R. (2005). Ankle Oedema and Sympathetic Activation. Drugs, 65(Suppl 2))
ส่วนรายการยาเดิมที่เหลือ ได้แก่ atorvastatin, aspirin, lorsatan, Caltab (calcium carbonate), folate, และ vitamin B complex ไม่พบรายงานอาการข้อเท้าบวม (UpToDate, Lexidrug)