1. Anne M, Meghan R, Anthony W. Management of Constipation in Older Adults. Am Fam Physician. 2015;92(6):500-504.
2. Chassagne P, Ducrotte P, Garnier P, Mathiex-Fortunet H. Tolerance and long-term efficacy of polyethylene glycol 4000 (Forlax®) compared to lactulose in elderly patients with chronic constipation. J Nutr Health Aging. 2017;21:429-439.
3. Tomie, A.; Yoshida, N.; Kugai, M.; Hirose, R.; Dohi, O.; Inoue, K.; Okuda, K.; Motoyoshi, T.; Fukumoto, K.; Inagaki, Y.; et al. The Efficacy and Safety of Elobixibat for the Elderly with Chronic Constipation: A Multicenter Retrospective Cohort Study. Gastroenterol. Res. Pract. 2020, 2020, 9656040.
4. Eguchi, T., Inatomi, O., Shintani, S., Momose, K., Sako, T., Takagi, M., Fumihara, D., Inoue, K., Katayama, N., Morisawa, T., Ota, T. and Tsuji, Y. (2024), Efficacy and safety of elobixibat in combination with or switched from conventional treatments of chronic constipation: A retrospective observational study. JGH Open, 8: e70019. https://doi.org/10.1002/jgh3.70019
5. Kang SJ, Cho YS, Lee TH, Kim S, Ryu HS, Kim J, Park S, Lee YJ, Shin JE, CRGOTKSONAM. Medical Management of Constipation in Elderly Patients: Systematic Review. J Neurogastroenterol Motil 2021;27:495-512. https://doi.org/10.5056/jnm20210
อาการท้องผูกเรื้อรังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ การใช้ยาระบายจึงเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในประชากรกลุ่มนี้ American Family Physician 2015 ได้ให้คำแนะนำการจัดการอาการท้องผูกเรื้อรังในผู้สูงอายุ แบบ step approach ดัง algorithm นี้ (1)
จาก algorithm ข้างต้น จะเป็นการจัดการตามขั้น โดยหากยาระบายชนิดที่ใช้ก่อนหน้าไม่ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เปลี่ยนเป็นยาระบายชนิดต่อมาตามรูป ซึ่งจะเห็นได้ว่ายาระบายชนิดแรกที่แนะนำคือpolyethylene glycol (PEG) ซึ่งเป็นยาระบายในกลุ่ม osmotic laxative เช่นเดียวกับ lactulose ในการศึกษาเปรียบเทียบ PEG 4000 กับ lactulose syrup ในระยะเวลาการรักษา 6 เดือน พบว่า PEG 4000 เพิ่มจำนวนการขับถ่ายต่อสัปดาห์เพิ่มความสม่ำเสมอในการขับถ่าย มากกว่า lactulose (2) และจากคำแนะนำข้างต้นไม่พบคำแนะนำการใช้ยาระบายร่วมกัน หรือใช้ยาระบาย 2 ชนิดสลับกัน ทั้งนี้เหตุผลไม่พบยา elobixibat ในคำแนะนำ เนื่องจากยาดังกล่าวยังไม่ได้รับการรับรองจาก US FDA
Elobixibat เป็นยาระบายที่มีกลไกในการออกฤทธิ์ไปยับยั้ง ileal bile acid transporters ทำให้มี bile acid เพิ่มขึ้นในลำไส้ ส่งผลให้ไปเพิ่มการเคลื่อนที่ของลำไส้ และเพิ่มความถี่ของการขับถ่าย (3)
จากการศึกษาแบบย้อนหลังของ Takaaki E. และคณะ ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา elobixibat ในการรักษาท้องผูกเรื้อรังร่วมกับยาระบายชนิดอื่น หรือเปลี่ยนจากยาระบายชนิดอื่นมาใช้ elobixibat สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาระบายอื่นไม่ได้ผล (refractory) ในประเทศญี่ปุ่น โดยมีกลุ่มประชากรที่อายุตั้งแต่ 75 ปี ร้อยละ 60.5 และอายุ 65-74 ปี ร้อยละ 22.5 ซึ่งจากการติดตามหลังจากการใช้ 2 สัปดาห์พบว่ามีจำนวนครั้งของการขับถ่าย (spontaneous bowel movement: SBM) เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนเริ่มใช้ยา from 2.9±1.9 to 4.3±1.9 (P < 0.0001) โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยคือ ท้องเสีย และปวดท้อง นอกจากนั้นพบว่ามีอาเจียนหลังจากการเริ่มใช้ยา elobixibat (1.9%) (4)
จากการศึกษา Systematic review การใช้ยาระบายในผู้สูงอายุ โดย SJ Kang และคณะ ได้ทำการรวบรวมผลการศึกษาจาก 23 RCT ที่มีการศึกษาเกี่ยวกับยาระบายในผู้สูงอายุ (5) โดยพบว่า Bulk laxative, osmotic laxative, stimulant laxative with or without fiber, and other medications สามารถใช้ในผู้สูงอายุได้อย่างปลอดภัยในระยะสั้น 3 เดือน ซึ่งพบว่า PEG และ lactulose มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระยะยาวถึง 6 เดือน แต่พบว่าอัตราการหยุดใช้ยาหลังจากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ในกลุ่ม lactulose มากกว่ากลุ่ม PEG เป็น 6.3% และ 2.5% ตามลำดับอย่างไรก็ตามคุณภาพการศึกษาไม่สูงนักและหลายการศึกษามีจำนวนตัวอย่างในกลุ่มทดลองค่อนข้างน้อย
จากข้อมูลการศึกษาที่กล่าวมา หากผู้ป่วยยังสามารถใช้ยาระบาย lactulose ได้ แนะนำให้ใช้ lactulose ไปก่อน ซึ่งสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในระยะเวลา 3-6 เดือน หลังจากนั้นหากแพทย์พิจารณาว่าผู้ป่วยใช้ยาไม่ได้ผลหรือมีการตอบสนองที่ไม่ดี (poor response) สามารถเพิ่มหรือเปลี่ยนไปใช้ยา elobixibat ได้
elobixibat, ท้องผูกเรื้อรัง, ผู้สูงอายุ, ยาระบาย
Reference:
1. Anne M, Meghan R, Anthony W. Management of Constipation in Older Adults. Am Fam Physician. 2015;92(6):500-504.
2. Chassagne P, Ducrotte P, Garnier P, Mathiex-Fortunet H. Tolerance and long-term efficacy of polyethylene glycol 4000 (Forlax®) compared to lactulose in elderly patients with chronic constipation. J Nutr Health Aging. 2017;21:429-439.
3. Tomie, A.; Yoshida, N.; Kugai, M.; Hirose, R.; Dohi, O.; Inoue, K.; Okuda, K.; Motoyoshi, T.; Fukumoto, K.; Inagaki, Y.; et al. The Efficacy and Safety of Elobixibat for the Elderly with Chronic Constipation: A Multicenter Retrospective Cohort Study. Gastroenterol. Res. Pract. 2020, 2020, 9656040.
4. Eguchi, T., Inatomi, O., Shintani, S., Momose, K., Sako, T., Takagi, M., Fumihara, D., Inoue, K., Katayama, N., Morisawa, T., Ota, T. and Tsuji, Y. (2024), Efficacy and safety of elobixibat in combination with or switched from conventional treatments of chronic constipation: A retrospective observational study. JGH Open, 8: e70019. https://doi.org/10.1002/jgh3.70019
5. Kang SJ, Cho YS, Lee TH, Kim S, Ryu HS, Kim J, Park S, Lee YJ, Shin JE, CRGOTKSONAM. Medical Management of Constipation in Elderly Patients: Systematic Review. J Neurogastroenterol Motil 2021;27:495-512. https://doi.org/10.5056/jnm20210