ตอบคำถามเรื่องยา

หน่วยข้อมูลยาและสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ป่วยชายอายุ 65 ปี มีอาการเหมือนเข็มตำที่นิ้ว และชา ๆ นิ้วชี้ แขนซ้าย ได้รับยา ticagrelor, aspirin, rosuvastatin เกิดจากยาได้หรือไม่ สามารถใช้วิตามินดี หรือวิตามินบีรวมได้หรือไม่

ผู้ป่วยชายอายุ 65 ปี มีอาการเหมือนเข็มตำที่นิ้ว และชา ๆ นิ้วชี้ แขนซ้าย ได้รับยา ticagrelor, aspirin, rosuvastatin เกิดจากยาได้หรือไม่ สามารถใช้วิตามินดี หรือวิตามินบีรวมได้หรือไม่

Share this Post:

คำตอบจากหน่วย DHI

  1. 1. อาการเหมือนเข็มตำและชาที่นิ้วชี้และแขนซ้ายเกิดจากยาได้หรือไม่

    ถึงแม้ข้อมูล Drug Information ในฐานข้อมูล UpToDate ไม่มีการระบุว่ายาทั้ง 3 ตัวมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว แต่จากการสืบค้นแหล่งข้อมูลอื่นพบว่าอาการ paresthesia (อาการเหมือนเข็มตำหรือชาตามนิ้วและแขน) เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้ไม่บ่อยของยาทั้ง 3 ตัว ดังนี้

    • Ticagrelor:
    • พบการระบุว่า “paresthesia” พบได้ในระดับ Uncommon (0.1% ถึง 1%) [1]
    • พบการระบุว่า “a tingling feeling” พบได้ในระดับ Rare (affects 1 to 10 users in 10,000) [2]
    • Aspirin:
    • พบการระบุว่า “numbness or tingling in the hands, feet, or lips” พบได้ในระดับ Incidence not known [3]
    • Rosuvastatin:
    • พบการระบุว่า “numbness, prickling, 'pins and needles', or tingling feelings” พบได้ในระดับ Less common side effects [4]
    • พบการระบุว่า “neurological symptoms, like tingling, numbness, pain and tremor in the hands and feet, and unsteadiness during walking associated with peripheral neuropathy” พบได้เมื่อมีการใช้ยา atorvastatin หรือ rosuvastatin เป็นเวลานาน (มากกว่า 1 ปี) [5]

     

    นอกจากนี้ อาการ paresthesia ยังเกี่ยวข้องกับภาวะขาดวิตามิน B12 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ aspirin ในระยะยาว เนื่องจาก

    • Aspirin สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองและเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเปลี่ยนแปลง และรบกวนการดูดซึมวิตามิน B12 [6]
    • มีรายงานการศึกษาทางคลินิกว่าการขาดวิตามิน B12 เป็นผลข้างเคียงในผู้ที่ใช้ aspirin เป็นเวลานาน [6]
    • มีรายงานการศึกษาใน clinical trial phase 4 ที่วิเคราะห์ข้อมูลจาก FDA เกี่ยวกับการใช้ aspirin และการขาดวิตามิน B12 พบว่าการขาดวิตามิน B12 เป็นผลข้างเคียงในผู้ที่ใช้ aspirin โดยเฉพาะในหญิงอายุมากกว่า 60 ปี และใช้ยาเป็นเวลานาน 5-10 ปี และมีผู้รายงานผลข้างเคียงจากการใช้ aspirin ทั้งหมด 622,087 คน โดยในจำนวนนี้ 502 คน (0.08%) มีการขาดวิตามิน B12 [7]

     

    2. สามารถใช้วิตามินดีหรือวิตามินบีรวมได้หรือไม่

    • วิตามิน D มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกาย (immunomodulator) และช่วยลดการอักเสบและการทำลายปลอกประสาท จึงมีการใช้ในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis หรือ MS) ซึ่เงเป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อปัจจัยภายนอกที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบของปลอกประสาท (myelin sheath) ในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา การวินิจฉัยโรคนี้ต้องอาศัยประวัติทางการแพทย์ อาการทางระบบประสาท และผลตรวจ MRI (Magnetic resonance imaging) ดังนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยโรคก่อนเพื่อให้การใช้วิตามิน D มีประสิทธิภาพและปลอดภัย [8]
    • วิตามิน B โดยเฉพาะ B12 มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาท, มีหลักฐานว่า aspirin รบกวนการดูดซึมวิตามิน B12, และวิตามิน B12 ไม่เกิดอันตรกิริยากับยาที่ผู้ป่วยรับประทาน ดังนั้นอาจพิจารณาเสริมวิตามิน B12 ให้กับผู้ป่วยได้ โดยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และเภสัชกร


    ผู้ตอบคำถาม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวทยาลัยอุบลราชธานี
    ชื่อ-สกุล
    ผศ.ดร.ธนวดี ปรีเปรม
    ผู้ร่วมตอบคำถาม โดยบุคคลภายนอก
    ชื่อ-สกุล
    คำสำคัญ

    นักศึกษาที่ร่วมค้นคว้า

    อ้างอิง

    1. Brilinta Side Effects: Common, Severe, Long Term [Internet]. Drugs.com. 2024 [last update 2024 Sep 27, cited 2025 Mar 20]. Available from: https://www.drugs.com/sfx/brilinta-side-effects.html
    2. Brilique Annex I Summary of Product Characteristics [Internet]. European Medicines Agency. 2024 [last update 2024 July 19, cited 2025 Mar 20]. Available from: https://www.ema.europa.eu/en/documents/product-information/brilique-epar-product-information_en.pdf
    3. Aspirin Side Effects [Internet]. Drugs.com. 2024 [last updated 2024 May 14, cited 2025 Mar 20]. Available from: https://www.drugs.com/sfx/aspirin-side-effects.html
    4. Rosuvastatin Side Effects [Internet]. Drugs.com. 2024 [last updated 2024 Dec 3, cited 2025 Mar 20]. Available from: https://www.drugs.com/sfx/rosuvastatin-side-effects.html
    5. Özdemir IH, Copkiran Ö, Tıkız H, Tıkız C. Peripheral polyneuropathy in patients receiving long-term statin therapy. Turk Kardiyol Dern Ars. 2019 October;47(7):554-563. doi:10.5543/tkda.2019.78379.
    6. van Oijen MG, Laheij RJ, Peters WH, Jansen JB, Verheugt FW; BACH study. Association of aspirin use with vitamin B12 deficiency (results of the BACH study). Am J Cardiol. 2004 Oct 1;94(7):975-7. doi: 10.1016/j.amjcard.2004.06.047. PMID: 15464695.
    7. Aspirin and Vitamin b12 deficiency - a phase IV clinical study of FDA data [Internet]. eHealthMe. 2025 [last updated 2025 Feb 15, cited 2025 Mar 20]. Available from: https:// ehealthme.com/ds/aspirin/vitamin-b12-deficiency/
    8. การใช้ Vitamin D ในการรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง [อินเตอร์เน็ต]. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม. 2563 [ปรับปรุงล่าสุด 18 ธ.ค. 2563, เข้าถึงเมื่อ 20 มี.ค. 2568]. เข้าถึงได้จาก: https:// ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=925