ตอบคำถามเรื่องยา

หน่วยข้อมูลยาและสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ป่วยหญิง อายุประมาณ 80 ปี ได้รับยา alendronate ครั้งละ 1 เม็ด เดือนละ 1 ครั้ง แต่ช่วงนี้ผู้ป่วย รับประทานอาหารลำบาก กลืนลำบาก สำลักง่าย อยากถามว่า สามารถบดยาได้ใหม

ผู้ป่วยหญิง อายุประมาณ 80 ปี ได้รับยา alendronate ครั้งละ 1 เม็ด เดือนละ 1 ครั้ง แต่ช่วงนี้ผู้ป่วย รับประทานอาหารลำบาก กลืนลำบาก สำลักง่าย อยากถามว่า สามารถบดยาได้ใหม

Share this Post:

คำตอบจากหน่วย DHI

  1. จากคำถาม "ผู้ป่วยหญิง อายุประมาณ 80 ปี ได้รับยา alendronate ครั้งละ 1 เม็ด เดือนละ 1 ครั้ง แต่ช่วงนี้ผู้ป่วย รับประทานอาหารลำบาก กลืนลำบาก สำลักง่าย อยากถามว่า สามารถบดยาได้ใหม"



    จากการสืบค้นข้อมูล พบว่า ความกังวลในการใช้ยา Alendronate อย่างนึงที่พบคือการเกิด "ผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร (GI mucosal irritation)" ได้ประมาณ 1-10% (UpToDate, Lexicomp) ตัวอย่างเช่น การระคายเคืองโดยตรงต่อช่องปาก ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลในช่องปาก การเกิดแผลในหลอดอาหาร การการระคายต่อเนื้อเยื่อในทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นผลจากยาที่มีผลต่อเนื่อเยื่อโดยตรง ก่อให้เกิดการอักเสบ และเกิดเป็นแผลได้ (direct cytotoxic effect)


    การออกแบบรูปแบบยาจึงทำให้อยู่ในรูปแบบ "เม็ดยาเคลือบ" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความคงตัวของยา เพื่อชะลอการละลายของยา เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงจากยา (อย่างไรก็ตาม การเคลือบเม็ดยาไม่ได้มีผลลดการเกิดการระคายเคืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อตัวยาละลายในทางเดินอาหาร ยาก็สัมผัสกับเนื้อเยื่อโดยตรง ก็ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน)


    ดังนั้น จากคำถามว่าสามารถบดได้หรือไม่ นั้น "ไม่แนะนำให้บดยา" เพราะการบดยาทำให้เม็ดยาสูญเสียสภาพของยาเม็ดเคลือบ ซึ่งอาจส่งผลต่อความคงตัว และการละลายของยา นอกจากนี้ ยังเพิ่มโอกาสของการสัมผัสของตัวยาต่อเนื้อเยื่อบุทางเดินอาหารและทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารได้



    อย่างไรก็ตาม การใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนทุกครั้ง เพื่อการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดของยา นอกจากนี้การพิจารณาการใช้ยาทุกครั้งยังต้องมีการประเมินโรคร่วมของผู้ป่วย ยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่เป็นประจำ ซึ่งเมื่อพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ "รับประทานอาหารลำบาก กลืนลำบาก สำลักง่าย" เบื้องต้นนั้นอาการดังกล่าวสามารถเกิดจากการใช้ยา Alendronate ได้ เป็นอาการเริ่มต้นของอาการข้างเคียงจากยา (และมีโอกาสมากขึ้นหากเป็นผู้ป่วยติดเตียง) หรืออาการดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุอืน ก็เป็นได้

    คำแนะนำ : ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางการจัดการที่เหมาะสมต่อไป


    ผู้ตอบคำถาม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวทยาลัยอุบลราชธานี
    ชื่อ-สกุล
    อ.ทศพล วะรงค์
    ผู้ร่วมตอบคำถาม โดยบุคคลภายนอก
    ชื่อ-สกุล
    คำสำคัญ

    นักศึกษาที่ร่วมค้นคว้า

    อ้างอิง

    1. UpToDate, Lexicomp
    2. Lewiecki E. M. (2011). Safety of long-term bisphosphonate therapy for the management of osteoporosis. Drugs, 71(6), 791–814. https://doi.org/10.2165/11585470-000000000-00000
    3. Hosny K. M. (2016). Alendronate Sodium as Enteric Coated Solid Lipid Nanoparticles: Preparation, Optimization, and In Vivo Evaluation to Enhance Its Oral Bioavailability. PloSone, 11(5), e0154926. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0154926